วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555


ความหมาย
      “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับLogos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ
การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์
            จิตวิทยาการเรียนการสอน คือการ นำความรู้ด้านจิตวิทยา มาใช้ในการสอนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและส่งเสริมในการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน 
           
1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
            2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
             3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
             4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน  

หลักการสำคัญ 

1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

 จิตวิทยาครู 
ครู  หมายถึง  ผู้สอน  มาจากภาษาบาลีว่า “ครุ
ภาษาสันสกฤตว่า คุรุ แปลว่า หนัก  สูงใหญ่ 
                        -  ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
                        -  ครูต้องมีความหนักแน่น  สุขุม  ไม่วู่วาม  ทั้งความคิดและการกระทำ


 หลักการที่สำคัญสำหรับครู 

- การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน 
ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น 
ให้ความยุติธรรมแก่เด็ก อย่างเท่าเทียมกัน
- ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้ 
ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน 
ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน 
ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน  


จิตวิทยาการเรียนรู้

1.สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น

ลำดับขั้นของการเรียนรู้

ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2) ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด

จิตวิทยาการศึกษา
           
โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

1.  ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน
2. ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ
3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม
4.  ทฤษฎีการเรียนรู้ 
5.  ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา
6.  หลักการสอนและวิธีสอน
7.  หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
8.  การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน

ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู

วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้

.  ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
.  ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
.  ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
.  ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
.  ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
.  ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
.  ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
.  ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
.  ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
๑๐.  ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน